News RSS



Fjällräven: แบรนด์ยั่งยืนอันดับหนึ่งในสวีเดน 6 ปีซ้อน

Fjällräven ได้รับการยอมรับให้เป็นแบรนด์ที่ยั่งยืนที่สุดเป็นปีที่หกติดต่อกัน นับเป็น 6 ปีติดต่อกันแล้ว ที่ผู้บริโภคในสวีเดนโหวตให้ Fjällräven เป็นแบรนด์มีภาพลักษณ์แบรนด์ด้านความยั่งยืนที่สุดในหมวด ‘เสื้อผ้าและแฟชั่น’ ตามผลการจัดอันดับ ของ Sustainable Brand Index  2025  ตามสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากการศึกษาภาพลักษณ์แบรนด์ด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมที่สุดในยุโรป ที่สำรวจความคิดเห็นจากผู้บริโภคกว่า 80,000 คนใน 8 ประเทศ โดยมีแบรนด์ต่างๆ เข้าร่วมการประเมินเกือบ 1,600 แบรนด์ใน 36 อุตสาหกรรม การศึกษานี้ดำเนินการอย่างอิสระตั้งแต่ปี 2011 เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ด้านความยั่งยืน Fjällräven ก่อตั้งขึ้นในปี 1960 และเติบโตขึ้นเป็นผู้นำด้านอุปกรณ์กลางแจ้งที่มีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการยอมรับเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน” มาร์ติน แอ็กเซลเฮด (Martin Axelhed) ซีอีโอของ Fjällräven กล่าว “นี่คือผลลัพธ์จากความทุ่มเทของทีมงาน Fjällräven ทุกคน การที่ผู้บริโภครับรู้ว่าเราเป็นแบรนด์ที่ยั่งยืนที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันถือเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในระยะยาว” “อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากการลดผลกระทบจากระบบการจัดหาวัสดุและการผลิตแล้ว เรากำลังให้ความสำคัญกับการเพิ่มอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ให้คุ้มค่าที่สุดเมื่อถึงมือผู้บริโภค การส่งเสริมให้ผู้คนดูแล ซ่อมแซม และใช้อุปกรณ์ของตนต่อไปในทุกๆ ปี แทนที่จะซื้อของใหม่ในทุกฤดูกาลนั้น มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการผลิตเสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่ทนทานตั้งแต่แรก” Fjällräven ตระหนักมานานแล้วว่าการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น เมื่อมีการวัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 emissions) ของผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิต การที่สินค้าได้ใช้งานที่ยาวนานขึ้น ก็จะยิ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อการสวมใส่แต่ละครั้งลงได้ Fjällräven   ให้ความสำคัญกับ 6 แนวทางหลักเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของตนมีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด ดังนี้ วัสดุและโครงสร้างที่ทนทาน ออกแบบสินค้ามาเพื่อการใช้งานกลางแจ้งได้อย่างยาวนาน พร้อมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เน้นการใช้งานจริง ออกแบบโดยคำนึงถึงกิจกรรมเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจว่าเสื้อผ้าเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งานอย่างแท้จริง ความพอดีและความสบาย เพื่อให้ผู้สวมใส่รู้สึกมั่นใจและสบายตลอดการใช้งาน ดีไซน์เหนือกาลเวลา สไตล์ที่ไม่ล้าสมัย ลดความจำเป็นในการเปลี่ยนใหม่บ่อยๆ ซ่อมแซมได้ง่าย ออกแบบให้ซ่อมแซมได้สะดวก พร้อมบริการช่วยเหลือผู้บริโภคในกระบวนการซ่อมแซม การดูแลจากเจ้าของ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลอุปกรณ์กลางแจ้งเพื่อยืดอายุการใช้งาน ไอโกะ โบเด (Aiko Bode) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของ Fenix Outdoor กล่าว "ดูเหมือนว่าผู้บริโภคชาวสวีเดนให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของแบรนด์ที่พวกเขาเลือกซื้อ และเรายินดีที่พวกเขาสร้างแรงผลักดันให้กับอุตสาหกรรมของเรา ในการพัฒนาด้านนี้อย่างต่อเนื่อง"  "แม้หากไม่มีการตรวจสอบจากสาธารณะ เราก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เช่น การเลิกใช้ PFAS ในระบบการจัดหาวัสดุและการผลิตของเราที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งเร็วกว่ากฎหมายที่เพิ่งออกมาบังคับใช้ในปัจจุบัน เราเลือกปฏิเสธสารเคมีเหล่านี้ตั้งแต่ตอนนั้น เพราะเราเชื่อว่านั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้บริโภคชาวสวีเดนให้คุณค่าแก่ความมุ่งมั่นของเรา"

Continue reading



Leave nothing but footprints - ทิ้งไว้เพียงรอยเท้า

Allemansrätten ในภาษาสวีเดน หมายถึง "เสรีภาพในการท่องธรรมชาติ" (the freedom to roam) หมายถึง สิทธิในการเข้าถึงธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมสวีเดน โดยสิทธินี้ได้รับการรับรองในกฎหมายของสวีเดนให้เป็นสิทธิสาธารณะ โดยพื้นฐานแล้ว Allemansrätten เปิดโอกาสให้ทั้งชาวสวีเดนและนักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันกว้างใหญ่ของประเทศได้   แนวคิดนี้มีอยู่ในบางประเทศเช่นกัน แต่ในสวีเดน สิทธิดังกล่าวครอบคลุมมากกว่า ไม่เพียงแต่สามารถเดินผ่านที่ดินส่วนตัวได้เท่านั้น แต่ยังสามารถตั้งแคมป์ชั่วคราวได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้า   Leave nothing but footprints - ทิ้งไว้เพียงรอยเท้า เป็นโครงการที่ร่วมกันให้ความรู้และส่งเสริมให้นักเดินทาง ให้เดินทางท่องเที่ยวและรักษาธรรมชาติไปพร้อมๆกัน เพราะ Fjällräven เชื่อว่าการใช้เวลาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติช่วยให้ผู้คนอิ่มเอมใจและเคารพธรรมชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การได้สัมผัสธรรมชาติก็มาพร้อมกับความรับผิดชอบในการดูแลและปกป้องเช่นกัน โดยนักเดินป่าควรออกจากจุดตั้งแคมป์ในสภาพที่ไม่ต่างจากตอนเข้าพัก หรือคืนสภาพให้ดีกว่าเดิม Fjällräven Classic มุ่งสร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้คนเคารพธรรมชาติ เพื่อให้ทุกคนสามารถเพลิดเพลินกับความงดงามของธรรมชาติไปอีกยาวนาน ซึ่งรวมถึงการสอนให้นักเดินป่ารู้จักการจัดการขยะ, เดินตามเส้นทางที่ช่วยให้ธรรมชาติเติบโต, เรียนรู้การกางเต็นท์โดยไม่ทำลายพืชพรรณ และให้ความสำคัญกับการเก็บขยะตามเส้นทางเดินป่า   ในบางกิจกรรมของ Fjällräven Classic ผู้เข้าร่วมจะได้รับถุงเก็บขยะที่มีตราสัญลักษณ์ของ Fjällräven และยังมีการแข่งขันเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนช่วยกันเก็บขยะจากเส้นทางธรรมชาติให้ได้มากที่สุด  Fjällräven ยังร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นเพื่อให้แน่ใจว่านักเดินป่ามีความรู้และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการลดผลกระทบต่อธรรมชาติให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยจำนวนนักเดินป่าที่ออกไปสัมผัสธรรมชาติมากขึ้นในทุกๆปี  การมีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนปฏิบัติต่อธรรมชาติอย่างรับผิดชอบจึงเป็นสิ่งสำคัญ   ในสหรัฐอเมริกา Fjällräven ได้ร่วมมือกับองค์กร  Leave No Trace ซึ่งได้จัดทำคู่มือแนวทางง่าย ๆ ที่เรียกว่า "The Seven Principles of Leave No Trace" หรือ "หลักเจ็ดประการของการท่องเที่ยวแบบไม่ทิ้งร่องรอย" แนวทางเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งสำหรับนักเดินทางทั่วไปและกิจกรรมอย่าง Fjällräven Classic ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากออกเดินทางไปยังเส้นทางธรรมชาติที่บริสุทธิ์   หลักเจ็ดประการของการท่องเที่ยวแบบไม่ทิ้งร่องรอย (The Seven Principles of Leave No Trace) 1. Plan ahead and prepare : วางแผนล่วงหน้าและเตรียมตัวให้พร้อม   ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ ดูแผนที่ อ่านเอกสารแนะนำ และวางแผนการเดินทางให้ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยที่สุด   2. Travel and camp on durable surfaces : เดินทางและตั้งแคมป์บนพื้นที่บริเวณเดิม ใช้เส้นทางที่มีอยู่แล้วและปฏิบัติตามกฎระเบียบเกี่ยวกับสถานที่ตั้งแคมป์ ควรเลือกตั้งแคมป์บนพื้นที่ที่มีร่องรอยการใช้งานอยู่แล้วเพื่อลดผลกระทบต่อธรรมชาติ   3. Dispose of waste properly : กำจัดขยะอย่างถูกต้อง   ผู้เดินทางทุกคนมีหน้าที่เก็บขยะของตนเอง รวมถึงวางแผนมื้ออาหารเพื่อลดขยะ และพกถุงขยะเพื่อเก็บขยะที่พบระหว่างทาง   4. Leave What You...

Continue reading



Trekking for generations

Trekking for generations - การเดินป่าจากรุ่นสู่รุ่น Christian Skødt ชื่นชอบธรรมชาติมาตลอดชีวิต แต่เขาเริ่มหลงใหลในการเดินป่าเมื่ออายุ 72 ปี เขาร่วมทีมกันกับลูกสาวและหลานสาวเพื่อสร้างสถิติการเดินป่าที่น่าประทับใจ รวมถึง Fjällräven Classics ทั้ง 8 ครั้งด้วย! ในปี 2022 Christian Skødt ผู้มีอายุ 78 ปี สมัครเข้าเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม Fjällräven Classic Denmark ที่มีอายุมากที่สุด แต่เขาขอว่า อย่าเรียกเขาว่า "นักเดินป่าสำหรับผู้สูงอายุ" เลย เขาจะขอบคุณมาก แม้ว่าเขาจะชื่นชอบธรรมชาติมาตลอดชีวิต แต่การเดินป่าเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างใหม่ เพราะเขาเริ่มเดินป่าในปี 2016 เมื่อเข่ามีปัญหาจนทำให้เขาไม่สามารถวิ่งได้ แม้ว่านั่นจะเป็นการออกกำลังกายแบบที่เขาชอบที่สุดก็ตาม  ปัจจุบัน การเดินป่ากลายเป็นเป้าหมายการออกกำลังกายประจำปี และเป็นกิจกรรมสุดโปรดที่เขาชอบทำร่วมกับ Susanne ลูกสาวและ Emilie หลานสาวของเขา นอกจากนี้ เขายังปั่นจักรยาน เล่นกอล์ฟ และทำสวนที่บ้านร่วมกับภรรยาซึ่งใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมา 50 ปี  เขามักกล่าวว่า “การได้รับธรรมชาติส่งถึงหน้าประตูบ้านของคุณถือเป็นสิทธิพิเศษ” แม้ว่าเขาจะเริ่มต้นเดินปาค่อนข้างช้าและมีงานอดิเรกกลางแจ้งที่หลากหลาย แต่คริสเตียนก็สร้างสถิติการเดินป่าที่น่าประทับใจได้มากมาย ในระยะเวลา 6 ปี เขาเข้าร่วมกิจกรรม  Fjällräven Classics และเดินจบทั้งหมด 8 ครั้ง โดย 5 ครั้งในเดนมาร์ก และ 3 ครั้งในสวีเดน เขาเดินเดี่ยวในปี 2017 แต่ที่เหลือเขาจับคู่กับลูกสาว และเดินเป็นทีมกับลูกสาวและหลานสาวของเขา คริสเตียน เดินป่า Fjällräven Classic Denmark หลายครั้งจนคุณคงคิดว่าการเดินป่าครั้งนี้คงน่าเบื่อ แต่เขาไม่เห็นด้วย โดยระบุว่าแม้เส้นทางจะคล้ายกัน แต่ประสบการณ์ที่ได้ก็แตกต่างกันมาก ในทางกลับกัน ความคุ้นเคยเส้นทางที่เคยเดินมาก่อน ช่วยสร้างความรู้สึกปลอดภัยที่ไม่สามารถคาดหวังจากเส้นทางการเดินป่า ครั้งอื่นได้  

Continue reading



Fjällräven Classic ฉลองครบรอบ 20 ปี

ตลอดระยะเวลากว่าสองทศวรรษที่ Fjällräven Classic ช่วยให้ Fjällräven สามารถเผยแพร่ 'ความสุขใจในการเดินป่า'จากสวีเดนไปทั่วโลก ปัจจุบันจัดขึ้นใน 7 ประเทศใน 4 ทวีป มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 40,000 คน มีธงสีส้ม (อันเป็นเอกลักษณ์ของงาน) ติดเป้สะพายหลังและได้เดินป่ามาแล้วกว่าสามล้านกิโลเมตร นับตั้งแต่มีงานครั้งแรก Fjällräven Classic Sweden ซึ่งเป็นเส้นทางเดินป่าดั้งเดิมที่ยาวที่สุด เริ่มต้นที่หมู่บ้าน Nikkaluokta และสิ้นสุดที่อุทยานแห่งชาติ Abisko  และจะจัดครั้งที่ 20 ขึ้นในปี 2024 นี้ จากหมู่บ้าน Nikkaluokta ที่ตั้งอยู่บนภูเขาในสวีเดนที่เต็มไปด้วยนักเดินป่า จุดเริ่มต้นของกิจกรรม Fjällräven Classic ท่านมกลางธงที่พลิ้วไสวไปตามลม ในขณะที่ผู้เข้าร่วมเตรียมตัว ปรับเสื้อผ้าและเปรียบเทียบน้ำหนักของเป้สะพายหลัง อาสาสมัครประทับตราบนหนังสือเดินทางเดินป่าและส่งเสียงเชียร์ผู้เข้าร่วม รอยยิ้มแห่งความสุขผสมผสานกับท่าทางมุ่งมั่นและประหม่า ในขณะที่นักเดินป่ามองขึ้นไปที่ภูเขา Kebnekaise  การเดินป่าบนเส้นทาง 110 กิโลเมตรจากหมู่บ้าน Nikkaluokta จนถึง Abisko ผู้เข้าร่วมโดยประมาณ 35% เป็นชาวสวีเดน ส่วนที่เหลือมาจาก 48 ประเทศ เวลาเริ่มต้นจะกระจายออกไปเป็นเวลา 3 วัน และผู้เข้าร่วมมีเวลาสูงสุด 7 วันในการเดินป่าให้จบทั้งเส้นทาง "ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ความนิยมในการเดินป่าบนเส้นทางภูเขาแบบระยะยาวนั้นลดน้อยลง" Carl Hård af Segerstad ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมระดับโลก (Global Events Manager) กล่าวในขณะที่มองไปยังนักเดินป่าที่กำลังจะออกเดินทาง เมื่อ Fjällräven เรียนรู้เรื่องนี้ ก็พบว่าผู้คนไม่รู้ว่าจะต้องจัดการกับเต็นท์ อาหาร และแก๊สอย่างไรเมื่อออกไปเที่ยวในรูปแบบนี้ โดยพื้นฐานแล้ว พวกเขาขาดความรู้อย่างมาก บริษัทจึงตัดสินใจเปิดตัวกิจกรรมเดินป่าที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ได้ แนวคิดคือให้ผู้คนได้สัมผัสกับธรรมชาติในแบบที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง แต่ยังคงสามารถเดินป่าที่ท้าทายและยาวนานซึ่งต้องพึ่งพาตนเองได้  เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ความสนใจในการเดินป่าบนภูเขาก็เพิ่มขึ้น ปัจจุบันการเดินป่ายังคงมีอยู่ตามเส้นทางยอดนิยมเดิม เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวมีผู้ใช้บริการมากอยู่แล้ว เราจึงต้องหาทางลดผลกระทบต่อธรรมชาติโดยรอบลง  นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนมากที่เข้าร่วม Fjällräven Classic Sweden มักจะกลับมาเดินซ้ำที่นี่ในช่วงเวลาอื่นๆ ของปี หรือเดินป่าตามเส้นทางอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย แนวคิดของ Fjällräven Classic Sweden คือการจัดงานนี้ในประเทศอื่นๆ อีกด้วย เพื่อให้ทุกคนที่ไม่สามารถเดินทางไปสวีเดนเข้าร่วมการเดินป่าได้ ในแบบ Fjällräven Classic  ปัจจุบัน Fjällräven Classic จัดขึ้นที่เดนมาร์ก เยอรมนี เกาหลี สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และชิลี การเดินป่าทั้งหมดจัดขึ้นอย่างแตกต่างกันและปรับให้เข้ากับสภาพของแต่ละประเทศในแง่ของการเข้าถึงเส้นทางและจุดกางเต็นท์...

Continue reading



Saying no to PFAS since 2009

  กฎหมายในสถานที่ต่างๆ เช่น แคลิฟอร์เนียและยุโรปจะเริ่มห้ามใช้สาร PFAS ในการผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกายตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป แต่เราได้ปฏิเสธการใช้สารนี้มาตั้งแต่ปี 2009 แล้ว และนี่คือเรื่องราวที่เราจะเล่าให้คุณฟัง “ความผูกพันของเรากับธรรมชาติถือเป็นเรื่องใหญ่” Donna Bruns ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ระดับโลกของ Fjällräven กล่าวอย่างตรงไปตรงมา “ถ้าไม่มีธรรมชาติ เราก็เพียงแค่เก็บของแล้วกลับบ้านไป”  อันที่จริงแล้ว ค่านิยมหลักประการหนึ่งของเราคือ “ปฏิบัติอย่างมีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ มนุษย์ และสัตว์” และสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งที่เราทำ คุณคงนึกออกว่า Donna มีปฏิกิริยาอย่างไรในปี 2551 เมื่อเธอได้รับโทรศัพท์จากสเตฟาน พอสเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมีและที่ปรึกษา เกี่ยวกับสาร PFAS เธอตกตะลึงมาก ข่าวนี้แย่มาก แย่มากจริงๆ  “พวกมันอยู่ในทุกสิ่ง พวกมันอยู่ทุกที่”  สารประกอบเพอร์ฟลูออริเนตและโพลีฟลูออไรเนต (เรียกกันทั่วไปว่า PFCs หรือ PFAS) ซึ่งเพิ่งปรากฏขึ้นในช่วงทศวรรษปี 1950 ถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจากเป็นสาร DWR (สารกันน้ำที่ทนทาน) จึงมีความสามารถในการป้องกันความชื้น ไขมัน และสิ่งสกปรก ได้ด้วยการเปลี่ยนแรงตึงผิวของวัสดุได้อย่างดี สารนี้ถูกนำไปใช้กับสิ่งของต่างๆ มากมาย เช่น เคลือบบนเสื้อยืดเพื่อป้องกันคราบครีมกันแดด เคลือบชุดว่ายน้ำเพื่อให้แห้งเร็ว เคลือบถุงเท้าเพื่อยืดอายุการใช้งาน และอื่นๆ อีกมากมาย  น่าเสียดายที่เมื่อเวลาผ่านไป สารประกอบเคมีเหล่านี้ได้เล็ดลอดลงในแหล่งน้ำ ทั้งบนดินและใต้ดิน ไม่เพียงเท่านั้น สารประกอบเหล่านี้ยังเกาะติดกับฝุ่นและละอองลอยในอากาศ ทำให้มันสามารถเคลื่อนที่ไปยังสถานที่ที่ห่างไกลได้ทุกที่บนโลก ในที่สุดสาร PFAS ก็ตกค้างและถูกตรวจพบในทุกสิ่ง ตั้งแต่สัตว์จำพวกกุ้งน้ำจืดขนาดเล็กไปจนถึงทารกในครรภ์และน้ำนมแม่  การศึกษาวิจัยในเวลานั้นระบุว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ทั้งระบบภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ปัจจุบัน เราทราบแล้วว่า PFAS นั้นสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงใน DNA ได้ จากการพูดคุยทางโทรศัพท์ในครั้งนั้น เธอยังได้เรียนรู้ว่าสาร PFAS ต้านทานการย่อยสลายทางชีวภาพได้ เมื่อพวกมันออกสู่ท้องตลาดแล้ว ก็แทบไม่มีทางกำจัดพวกมันได้ พูดง่ายๆ ก็คือ พวกมันเป็น “สารเคมีที่คงอยู่ตลอดไป (forever chemicals)”  Donna กล่าวว่า “สาร PFAS เป็นสารประเภท DWR  (สารกันน้ำที่ทนทาน) ที่อุตสาหกรรมสิ่งทอและบริษัทผลิตสินค้าสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งมักเลือกใช้ ดังนั้น จึงมีอยู่ในวัสดุและผลิตภัณฑ์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเต็นท์ เป้สะพายหลัง หรือแม้กระทั่งสิ่งของที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมี อย่างผ้า G-1000 เรียกได้ว่ามีสาร PFAS ด้วยเช่นกัน เพราะสารนี้มีอยู่ในทุกสิ่งและทุกที่”  หลังจากแจ้งปัญหาดังกล่าวให้ Martin Axelhed ซีอีโอ และผู้บริหารระดับสูงของ Fjällräven...

Continue reading